เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (pleurisy)

เยื่อ หุ้มปอดอักเสบ (pleurisy)
- ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับเยื่อหุ้ม ปอดมีลักษณะเป็นเยื่อบุสองชั้น ชั้นในบุเนื้อปอด ส่วนชั้นนอกบุผนังทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นเป็นสารน้ำหล่อลื่น ปริมาณ 10-20 มิลลิลิตร โดยปกติสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดซึ่งถือว่ามีน้อยมาก จะมีการดูดซึมและทดแทนตลอดเวลาโดยเซลล์บุเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกเป็นหลัก
- เวลา ที่เกิดการอักเสบ จะพบว่ามีการสะสมของสารน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่ผิด ปกติ พบการเปลี่ยนแปลงชนิดปฏิกิริยาการอักเสบซึ่งอาจมีเซลล์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นจำนวนมาก เกิดการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกซึ่งมีอยู่ทั่วทั้งเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหายใจเข้า นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงความดันภายในเยื่อหุ้มปอดอีกด้วย

สาเหตุ
1. เกิดจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อปรสิตต่างๆ ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น กลุ่มเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ มักพบในคนหนุ่มสาวที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี อาการมักไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 3-5 วัน ส่วนการติดเชื้อค็อกแซกกีไวรัสชนิดบี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง เจ็บหน้าอกนานครั้งละ 15-30 นาที อาจมีอาการหายใจเร็ว มักเป็นอยู่นาน 2-4 วัน ในประเทศไทยพบว่าเชื้อวัณโรคเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง
2. เกิดจากการ สูดดมสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น แอมโมเนีย
3. โรคของ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น โรคลูปัส โรครูมาตอยด์
4. มะเร็งปอด หรือมะเร็งเต้านม แพร่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอด
5. เกิดจาก เนื้องอกของเยื่อหุ้มปอด
6. เกิดจาก ภาวะหัวใจล้มเหลว
7. โรคก้อน เลือดอุดตันเส้นเลือดไปปอด มักเกิดในผู้สูงอายุ คนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร หญิงที่กินยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหรือต้นขาหัก ผู้ป่วยที่นอนบนเตียงนานๆ และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว บางรายอาจเกิดจากน้ำคร่ำ ไขกระดูก หรือฟองอากาศ
8. เกิดจาก ต่อมน้ำเหลืองอุดตัน ภาวะมีน้ำหรือหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด
9. เกิดจาก การกระแทก อุบัติเหตุที่ทรวงอก กระดูกซี่โครงหักตำถูกเยื่อหุ้มปอด
10. สาเหตุจาก ยาบางชนิด เช่น hydralazine, procan และ dilantin
11. เกิดจากโรค ในช่องท้อง เช่น ตับแข็ง ฝีในตับ ตับอ่อนอักเสบ
12. โรคเนื้อ ปอดขาดเลือดไปเลี้ยงบางส่วน

อาการ

ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการ ที่เด่นชัดคือเจ็บแปลบที่บริเวณหน้าอก ตรงตำแหน่งที่เยื่อหุ้มปอดอักเสบ คล้ายเข็มแทง เฉพาะเวลาหายใจเข้าลึกๆ ไอหรือจาม ทั้งนี้เนื่องจากมีการยืดตัวของเยื่อหุ้มปอดที่กำลังอักเสบ เราเรียกว่าอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะนี้เรียกว่า อาการเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมักมีอาการเจ็บแปลบเพียงชั่วไม่กี่วินาทีตรงหน้าอกซีกใดซีกหนึ่ง เป็นบางครั้งบางคราวเฉพาะเวลาหายใจเข้าลึกๆ เวลาไอหรือจาม ถ้ากลั้นลมหายใจหรือหายใจค่อยๆ จะไม่มีอาการแต่อย่างใด

การวินิจฉัย

ลักษณะ อาการเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มปอดค่อนข้างจำเพาะเจาะจง การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจ และการตรวจร่างกายทั่วไปโดยละเอียดจะช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของเยื่อ หุ้มปอดอักเสบได้หลายกรณี
1.การถ่ายภาพ รังสีทรวงอกในท่ายืนตรง และท่านอนตะแคง ช่วยในการวินิจฉัยสารน้ำในเยื่อหุ้มปอด และประเมินปริมาณของสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดได้จากภาพเอ็กซเรย์
2.การตรวจอัลตราซาวด์เป็นวิธีที่มีความ ไวสูงในการตรวจสารน้ำใน
เยื่อหุ้มปอด
3.การตรวจ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ นอกจากช่วยวินิจฉัยสารน้ำใน
เยื่อหุ้ม ปอดแล้ว ยังช่วยให้เห็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ อีกด้วย
4.การเจาะเอา สารน้ำในเยื่อหุ้มปอดออกมาตรวจ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการวินิจฉัยหาสาเหตุ สารน้ำอาจเป็นชนิด ที่มีโปรตีนสูง น้ำตาลต่ำ เอ็นไซม์สูง ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือสารน้ำอาจเป็นชนิดที่มีระดับของสารเคมีในเกณฑ์ปกติก็ได้ ลักษณะของสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดช่วยบ่งบอกสาเหตุได้ตามสมควร นอกจากนี้การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ตรวจหาเชื้อวัณโรค หรือตรวจพบเซลล์มะเร็ง ในสารน้ำจากเยื่อหุ้มปอดช่วยวินิจฉัยสาเหตุได้อย่างมาก

การรักษา

1.เยื่อหุ้ม ปอดอักเสบมีสาเหตุ และความรุนแรงต่างๆ กัน จึงควรซักถามอาการและตรวจร่าง กายอย่างถี่ถ้วน ก่อนจะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง และให้การรักษาตามอาการ ที่สำคัญต้องติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ถ้าไม่ดีขึ้น หรือสงสัยมีความผิดปกติ ก็ควรจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
2.ถ้าเจ็บ แปลบเพียงไม่กี่วินาที่เป็นครั้งคราวไม่มีอาการไข้ และหายใจเป็นปกติ ให้ยาต้าน อักเสบที่ไม่ใช่
สเตอรอยด์, ถ้าไอมากและทำให้เจ็บหน้าอก ให้กินยาระงับการไอ-โคเดอิน 30 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง, ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 7 วัน ควรส่งเอกซเรย์ และตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ
3.ถ้าอาการเจ็บหน้าอก รุนแรง ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อก หรือมีไข้สูง ไอเป็นเลือด หายใจหอบเหนื่อยมาก ควรตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด และให้การรักษาไปตามสาเหตุที่พบ
4.การใช้ยา แก้ปวดช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี โดยพิจารณาความรุนแรงของอาการปวดเป็นหลัก ไม่ควรใช้ยาหลายขนานพร้อมๆ กัน
5.ในกรณีที่ มีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดจำนวนมาก อาจพิจารณาเจาะดูดออกตามสมควร แต่ต้องพิจารณาเป็น รายๆ ไป และต้องทำการตรวจสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดเพื่อหาสาเหตุด้วยเสมอ
6.ในกรณีที่ เกิดจากการติดเชื้อ พิจารณาให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม โดยทั่วไปยาต้าน จุลชีพจะถูกดูดซึมเข้าสู่เยื่อหุ้มปอดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยาต้านวัณโรคด้วยเช่นกัน
7.ถ้าพบว่ามีหนองในโพรงเยื่อ หุ้มปอด แพทย์อาจพิจารณาใส่ท่อระบายหนอง หรือทำการผ่าตัดรักษา
8.ในรายที่ เกิดจากการกระจายของเซลล์มะเร็ง อาจพิจารณาฉีดยาบางชนิดเข้าไปในโพรงเยื่อหุ้มปอด เพื่อให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดเนื้อเยื่อพังผืด จึงเป็นการปิดโพรงเยื่อหุ้มปอดไปโดยปริยาย

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น